C Band กับ Ku Band คืออะไร ต่างกันอย่างไร

         C Band กับ Ku Band คืออะไร ต่างกันอย่างไร

หลายคนไปร้านขายจานกับกล่องดาวเทียม เจอคนขายถามว่าจะดูดาวเทียมย่าน C-Band หรือ Ku-Band ก็เกิดอาการงงว่ามันคืออะไร แล้วต่างกันตรงไหน ย่านไหนดีกว่ากัน ตรงนี้มีคำตอบนะครับ
ดาวเทียมที่อยู่เหนือผิวโลกสูงประมาณ 36,000 กิโลเมตร ส่งสัญญาณแค่ไม่กี่วัตต์ออกมา เจอสภาพบรรยากาศของโลกสัญญาณก็จะถูกหน่วงไปประมาณ 200 dB พอมาถึงพื้นโลกนั้นสัญญาณที่เหลือจะอ่อนมากๆ
เราจึงต้องใช้สายอากาศในลักษณะรูปร่างคล้ายจานที่เราเรียกว่าจานดาวเทียม เพื่อที่จะทำการ
รวมสัญญาณอ่อนๆเหล่านี้โดยการสะท้อนไปรวมกันยังจุดโฟกัส แม้จะรวมสัญญาณโดยรอบและจากทุกตำแหน่งของจานแล้วก็ตาม ค่าความเข้มของสัญญาณที่ได้ก็ยังน้อยมากในระดับ ไมโครวัตต์เท่านั้น (1 ใน ล้าน)
สัญญาณเหล่านี้ก็จะถูกนำไปประมวลผลด้วยวงจรอิเลคทรอนิคส์ แต่เนื่องจากสัญญาณนั้นอ่อนมาก อาจจะมีโอกาศถูกรบกวนได้สูง จึงต้องมีการขยายสัญญาณทันทีหลังจากรับสัญญาณมาแล้วด้วยเครื่องขยายสัญญาณรบกวนต่ำหรือ Low Noise Amplifier (LNA)
คุณสมบัติเด่นอันหนึ่งของการรับสัญญาณดาวเทียมก็คือจำนวนสัญญาณที่จานจะรับได้นั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับความถี่ นั่นคือหากจานมีขนาดเท่ากัน สัญญาณจะได้รับแรงขึ้นหากความถี่ที่ส่งมานั้นสูงขึ้น นั่นหมายถึงว่าจานเดียวกันนั้น Gain จะสูงที่ความถี่สูง ทำให้เราสามารถใช้จานเล็กๆ รับสัญญาณที่ความถี่สูงได้ ทำให้การออกอากาศในปัจจุบันใช้ Ku band หรือแม้แต่ Ka band ในการออกอากาศทีวีผ่านดาวเทียม
กลับมาในเรื่องของความแตกต่างระหว่าง Ku Band กับ C Band ข้อมูลก็จะเป็นดังตาราง
ชื่อย่านความถี่Downlink Freq (GHz)Uplink Freq(GHz)
S BAND2.555 – 2.6355.855 – 5.935
Extended C Band (lower)3.4 – 3.75.725 – 5.925
C BAND3.7 – 4.25.925 – 6.425
Extended C Band (Upper)4.5 – 4.86.425 – 7.075
Ku Band10.7 – 13.2512.75 – 14.25
Ka Band18.3 – 22.2027.0 – 31.0
โดยรวมๆแล้วข้อมูลจากตารางจะเห็นได้ว่าช่วง C-Band คือช่วงความถี่ต่ำระหว่าง 4 – 7 GHz ส่วนช่วง Ku Band จะอยู่ในช่วง 10 – 14 GHz ที่ความถี่สูงจานรับสัญญาณดาวเทียมก็จะมีลักษณะหนาทึบ ในขณะที่ย่าน C-Band จานรับสัญญาณดาวเทียมจะมีลักษณะโปร่งๆ เนื่องจากใช้ความถี่ต่ำกว่า สรุปความแตกต่างได้ดังนี้

จานดาวเทียม C-Band

– ความถี่ในการทำงานอยู่ในย่านต่ำ 4 – 8 GHz
– ครอบคลุมพื้นที่บนผิวโลกกว้างกว่า
– ความเข้มสัญญาณต่ำ
– จานรับจะมีลักษณะเป็นตะแกรง มีขนาดใหญ่
– ไม่มีปัญหาเวลาฝนตก


จานดาวเทียม Ku-Band

– ความถี่ในการทำงานอยู่ในย่านสูง 10 – 12 GHz
– สามารถใช้งานที่มีขนาดเล็กลง เช่นขนาด 35 ซมได้
– มีปัญหาเวลาฝนตก (Rain Fade)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

LNB

ดาวเทียม