บทความ

ระบบเสียงในอาคาร, ห้างสรรพสินค้า

รูปภาพ
ระบบเสียงแบบ โอห์ม (Ohm) ในระบบเสียงแบบนี้ จะมีความสามารถในการตอบสนองย่านความถี่ที่ครบถ้วน แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องระยะทางความยาวของสายลำโพง ระหว่างเครื่องขยายเสียงและลำโพง ความยาวจะไม่มาก หากมีการเดินสายลำโพงที่ยาวมากและมีการวางลำโพงหลายๆจุด อย่างในตึกหรืออาคาร ระบบเสียงแบบนี้จะให้คุณภาพเสียงที่ไม่ดี เพราะค่าความต้านทานที่สูงขึ้น ทำให้กำลังวัตต์ลดลง คุณภาพเสียงก็ลดลงตามระยะทางที่สายลำโพงที่ยาวขึ้น และยังต้องใช้เครื่องขยายเสียงที่มีกำลังวัตต์สูงมากอีกด้วย เพื่อให้สามารถส่งกระจายสัญญาณได้อย่างทั่วถึงทั้งอาคาร ด้วยความจริงไม่สามารถทำได้แน่นอน   ดังนั้น ระบบเสียงแบบนี้จึงเหมาะสำหรับ งานดนตรี งานเสียงที่เน้นคุณภาพเสียง งานเสียงที่เน้นย่านความถี่ให้มีครบถ้วน ระบบเสียงแบบ โวลท์ไลน์ (Volt Line)  ในระบบเสียงแบบนี้ จะมีความสามารถเดินสายลำโพง ระหว่างเครื่องขยายเสียงและลำโพงได้ยาวและได้ไกลมากๆ แต่มีข้อจำกัดในเรื่องคุณภาพเสียง ที่จะด้อยลงไป ด้วยเนื่องในระบบนี้ มีการตอบสนองย่านความถี่ได้ไม่ครบถ้วน

ระบบเสียงสาธารณะ

รูปภาพ
รู้จักกับระบบเสียงประกาศ (เสียงตามสาย) เสียงตามสาย , ทำความรู้จักกับระบบเสียงประกาศ ระบบเสียงประกาศ  หรือ  ระบบกระจายเสียง  ที่นิยมเรียกกันว่า  PA System  หรือ  เครื่องเสียงกลางแจ้ง  (ย่อมาจาก  Public Address System ) นั้นสำคัญอย่างไร หลายๆท่านคงรู้จักและคุ้นเคยกับระบบเสียงประกาศกันอยู่บ้าง เพราะเป็นสิ่งที่ถือได้ว่าอยู่ใกล้ตัวเรา เพราะไม่ว่าเราไปเดินที่ไหนในห้าง โรงพยาบาล โรงแรมหรือแม้แต่สถานที่สาธารณะต่างๆ เรามันจะได้ยินเสียงประกาศส่งข้อความต่างๆผ่านระบบเสียงให้เราได้ยินกัน ถามว่าไม่มีได้หรือไม่? ตอบได้เลยว่าจะมีหรือไม่มีก็ได้แต่ด้วยเหตุผลและปัจจัยต่างๆมากมายที่ทำให้เราตัดสินใจได้ว่าเราควรจะต้องติดตั้งระบบเสียงประกาศหรือไม่ อันดับแรกเลยคือ ขนาดของพื้นที่ มีผลต่อการรับรู้ข่าวสาร ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดเล็กเช่นห้องทำงานภายในออฟฟิตเล็กๆที่มีห้องแค่ไม่กี่ห้องและจำนวนชั้นที่ไม่มาก เราก็ไม่จำเป็นต้องมีระบบเสียงประกาศก็ได้เพราะตะโกนเอาก็ได้ยิน แต่ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ที่มีโซนของพื้นที่แยกเป็นสัดส่วนแบบนี้ต้องมีระบบเสียงประกาศแน่นอนเพราะเราไม่สามาร...

LNB

รูปภาพ
LNB คืออะไร LNB (Low Noise Block down Converter) คืออุปกรณ์ขยายสํญญาณรบกวนต่ำ เป็นภาคขยายสํญญาณความถี่วิทยุ (RF Amplifier) ที่มีLNA:Low Noise Amplifier อยู่ภายใน จะทำหน้าที่รับและขยายสัญญาณที่รับมาจากหน้าจานดาวเทียมและควบคุมระดับสัญญาณรบกวน Noise ให้มีค่าน้อยที่สุด จากนั้นจะทำการส่งผ่านภาคแปลงความถี่ให้ต่ำลง Down Converter เช่นแปลงความถี่ย่าน C-Band จาก3.7-4.2 GHzให้เหลือ 950-2050 MHz จึงจะสามารถส่งผ่านไปกับสายสํญญาณ RG6U ไปยังเครื่องรับได้ LNB มี 2 ประเภท LNB C-Band LNB KU-Band มี 2 แบบ แบบยูนิเวอร์แซลความถี่ 9750-10600 MHz แบบมาตรฐานความถี่ 11300 MHz การเลือกใช้แบบไหนกับดาวดวงใดมีสูตรดังนี้ ใช้ความถี่ช่องที่ต้องการดูเช่นดาวเทียม Nss6 ku ช่อง ASTV ความถี่ 11635 - ความถี่LNB 10600 = 1035 MHz หากใช้ความถี่ 11635 - ความถี่LNB แบบมาตรฐาน 11300 ก็จะได้ 11635-11300 =335 MHz ค่าความถี่ที่จะได้ต้องอยู่ที่ตัวเลข 950 -2150 MHz เท่านั้น หัวรับแบบยูนิเวอร์แซลมีขอดีอีกอย่างคือสามารถรับความถี่ย่านสูงได้แบบนี้ มีวงจร Local Oscillator อยู่ 2 ชุด เพื่อให้รับสัญญาณได้ทั้ง 2 ช่วงคว...

เข็มทิศจานดาวเทียม

รูปภาพ
   การใช้เข็มทิศสำหรับติดตั้งจานดาวเทียม    - ใช้วัดทิศทางในการรับสัญญาณ - ใช้เทียบวัดปรับขั้วการรับสัญญาณของตัว LNB การเลือกใช้เข็มทิศสำหรับติดตั้งจาน                 เข็มทิศมีอยู่มากมายหลายแบบ...แต่ที่นิยมมากที่สุดสำหรับช่างติดตั้งจานดาว เทียมในขณะนี้คือ...เข็มทิศแบบไม้บรรทัด เหมือนภาพตัวอย่างนี้...ไม่ว่าจะเป็นบริษัทดาวเทียมใหญ่หรือเล็ก...ตอนนี้ แนะนำให้ใช้เข็มทิศแบบนี้กันทั้งนั้นละครับ         ข้อดีของเข็มทิศแบบนี้ก็คือ....สามารถหมุนปรับตั้งตัวเลขอ้างอิงได้...ใช้ วัดปรับทิศได้ค่อนข้างแม่น...และใช้วัดปรับขั้วการรับสัญญาณของตัว LNB ได้ด้วย...และสำหรับท่านที่นำไปใช้ควบคู่กับแผนที่ที่มีอัตราส่วนเท่ากันกับ ตัวเลขที่พิมพ์ไว้ข้างๆตัวเข็มทิศ...ก็จะสามารถวัดระยะทางเป็นแบบกิโลเมตร ได้เลยละครับ...และสุดท้ายที่ยากจะแนะนำคือมีแว่นขยายให้ใช้ด้วย...สรุป เข็มทิศนี้ค่อนข้างดีจึงยากแนะนำให้ใช้กันครับ            ...

C Band กับ Ku Band คืออะไร ต่างกันอย่างไร

รูปภาพ
         C Band กับ Ku Band คืออะไร ต่างกันอย่างไร หลายคนไปร้านขายจานกับกล่องดาวเทียม เจอคนขายถามว่าจะดูดาวเทียมย่าน C-Band หรือ Ku-Band ก็เกิดอาการงงว่ามันคืออะไร แล้วต่างกันตรงไหน ย่านไหนดีกว่ากัน ตรงนี้มีคำตอบนะครับ ดาวเทียมที่อยู่เหนือผิวโลกสูงประมาณ 36,000 กิโลเมตร ส่งสัญญาณแค่ไม่กี่วัตต์ออกมา เจอสภาพบรรยากาศของโลกสัญญาณก็จะถูกหน่วงไปประมาณ 200 dB พอมาถึงพื้นโลกนั้นสัญญาณที่เหลือจะอ่อนมากๆ เราจึงต้องใช้สายอากาศในลักษณะรูปร่างคล้ายจานที่เราเรียกว่าจานดาวเทียม เพื่อที่จะทำการ รวมสัญญาณอ่อนๆเหล่านี้โดยการสะท้อนไปรวมกันยังจุดโฟกัส แม้จะรวมสัญญาณโดยรอบและจากทุกตำแหน่งของจานแล้วก็ตาม ค่าความเข้มของสัญญาณที่ได้ก็ยังน้อยมากในระดับ ไมโครวัตต์เท่านั้น (1 ใน ล้าน) สัญญาณเหล่านี้ก็จะถูกนำไปประมวลผลด้วยวงจรอิเลคทรอนิคส์ แต่เนื่องจากสัญญาณนั้นอ่อนมาก อาจจะมีโอกาศถูกรบกวนได้สูง จึงต้องมีการขยายสัญญาณทันทีหลังจากรับสัญญาณมาแล้วด้วยเครื่องขยายสัญญาณรบกวนต่ำหรือ Low Noise Amplifier (LNA) คุณสมบัติเด่นอันหนึ่งของการรับสัญญาณดาวเทียมก็คือจำนวนสัญญาณที่จานจะรับได้...

MATV

รูปภาพ
MATV  คืออะไร MATV  คืออะไร MATV (Master Antenna TeleVision)  ระบบทีวีรวม เป็นระบบที่มีสายอากาศรับสัญญาณทีวีช่องต่างๆ รวมกันเป็นเพียงชุดเดียว แต่สามารถกระจายสัญญาณไปยังจุดต่างๆ ภายในอาคารเดียวกันหรือบริเวณใกล้เคียง ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้จานดาวเทียมเป็นตัวรับสัญญาณแทนสายอากาศ เพราะสามารถให้สัญญาณที่คมชัดกว่าสายอากาศ สังเกตว่าในปัจจุบันนี้ตามตึกสูง โรงแรม คอนโดมิเนีม อพาร์ทเมนท์ หอพัก ฯลฯ ก็นิยมติดตั้งจานดาวเทียมไว้เพื่อรับสัญญาณ แล้วจึงนำสัญญาณที่ได้มาส่งเข้าระบบทีวีรวม  MATV  ต่อไป … การออกแบบระบบ  MATV  และอุปกรณ์ที่ใช้ การออกแบบระบบ  MATV  คือ การวางโครงสร้างบริเวณระดับสัญญาณทีวีที่จุดต่าง ๆ พร้อมกับจำนวนอุปกรณ์ที่ใช้ในงานนั้นๆ อย่างละเท่าใด ซี่งในการออกแบบนี้จะทำให้ทราบถึงค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ ฉะนั้นการออกแบบระบบ  MATV  คือ ผู้ออกแบบจะต้องตรวจสอบ คือคุณสมบัติและสเปคของอุปกรณ์  MATV หลักการในการออกแบบระบบ  MATV  การคำนวณสัญญาณที่ตำแหน่งต่างๆ   และตัวอย่างการออกแบบสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยและอาคารแบบต...