MATV
MATV คืออะไร
MATV คืออะไร
MATV (Master Antenna TeleVision) ระบบทีวีรวม เป็นระบบที่มีสายอากาศรับสัญญาณทีวีช่องต่างๆ รวมกันเป็นเพียงชุดเดียว แต่สามารถกระจายสัญญาณไปยังจุดต่างๆ ภายในอาคารเดียวกันหรือบริเวณใกล้เคียง ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้จานดาวเทียมเป็นตัวรับสัญญาณแทนสายอากาศ เพราะสามารถให้สัญญาณที่คมชัดกว่าสายอากาศ สังเกตว่าในปัจจุบันนี้ตามตึกสูง โรงแรม คอนโดมิเนีม อพาร์ทเมนท์ หอพัก ฯลฯ ก็นิยมติดตั้งจานดาวเทียมไว้เพื่อรับสัญญาณ แล้วจึงนำสัญญาณที่ได้มาส่งเข้าระบบทีวีรวม MATV ต่อไป…
การออกแบบระบบ MATV และอุปกรณ์ที่ใช้
การออกแบบระบบ MATV
คือ การวางโครงสร้างบริเวณระดับสัญญาณทีวีที่จุดต่าง ๆ พร้อมกับจำนวนอุปกรณ์ที่ใช้ในงานนั้นๆ อย่างละเท่าใด ซี่งในการออกแบบนี้จะทำให้ทราบถึงค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ ฉะนั้นการออกแบบระบบ MATV คือ ผู้ออกแบบจะต้องตรวจสอบ คือคุณสมบัติและสเปคของอุปกรณ์ MATV
คือ การวางโครงสร้างบริเวณระดับสัญญาณทีวีที่จุดต่าง ๆ พร้อมกับจำนวนอุปกรณ์ที่ใช้ในงานนั้นๆ อย่างละเท่าใด ซี่งในการออกแบบนี้จะทำให้ทราบถึงค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ ฉะนั้นการออกแบบระบบ MATV คือ ผู้ออกแบบจะต้องตรวจสอบ คือคุณสมบัติและสเปคของอุปกรณ์ MATV
หลักการในการออกแบบระบบ MATV การคำนวณสัญญาณที่ตำแหน่งต่างๆ และตัวอย่างการออกแบบสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยและอาคารแบบต่างๆ
ใน การออกแบบระบบ MATV นั้น หลักการพื้นฐานที่สำคัญอาจกล่าวได้ว่า มี 2 ประการด้วยกัน คือ
ใน การออกแบบระบบ MATV นั้น หลักการพื้นฐานที่สำคัญอาจกล่าวได้ว่า มี 2 ประการด้วยกัน คือ
- สัญญาณที่เอาต์เลตทีวีจะต้องมีคุณภาพดี
- ราคาของระบบจะต้องถูก
หลัก การประการแรกที่ว่า สัญญาณที่เอาต์เลตทีวีจะต้องมีคุณภาพดีนั้น หมายถึง สัญญาณที่ได้เมื่อแสดงออกที่จอทีวีแล้ว จะต้องชัดเจนไม่มีสัญญาณรบกวนในลักษณะใดๆ ที่จะทำให้ผู้ชมเกิดความรำคาญได้ การที่สัญญาณที่ได้จะมีคุณภาพดีดังกล่าวนี้ จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติหลายอย่างด้วยกัน คือ
- ระดับสัญญาณ (dBuV) จะต้องอยู่ในช่วงที่เหมาะสม
- ระดับของอัตราส่วน S/N จะต้องสูงเพียงพอ
- จะต้องไม่มีภาพซ้อนปรกกฎบนจอทีวี
คุณสมบัติ ทั้งสามประการนี้นับว่าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญและจะขาดเสียมิได้ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ก็ตามอย่างไรก็ตาม ในบางกรณีที่ตัวอาคารที่ต้องการติดตั้งระบบ MATV อยู่ในบริเวณที่ใกล้สถานีส่งของวิทยุ หรือโทรทัศน์ หรือสถานีส่งคลื่นวิทยุอื่นๆ คลื่นต่างๆ เหล่านี้อาจเข้ามารบกวนระบบได้ ในกรณีเช่นนี้จำเป็นจะต้องรู้ข้อมูลโดยละเอียดเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาใน การออกแบบ และต้องใช้เทคนิคต่างๆ ในการขจัดสัญญาณรบกวนนั้นๆ ออกไป ซึ่งก็หมายถึงราคาของระบบจะต้องสูงขึ้น สำหรับช่วงของระดับสัญญาณที่เหมาะสม ค่า S/N ที่จำเป็น และระดับของสัญญาณภาพซ้อนนั้น รายละเอียดได้กล่าวไว้ในบทที่ 2 แล้ว เพราะฉะนั้นขอให้ดูค่าตัวเลขต่างๆ ในบทที่ 2 ประกอบ
สำหรับหลักการ สำคัญประการที่ 2 ที่ว่า ราคาของระบบจะต้องถูกนั้น อันนี้เป็นหลักการพื้นฐานของทางด้านวิศวกรรมทั่วไป คือ ผู้ออกแบบจะต้องออกแบบให้ระบบทำงานได้ดี โดยที่ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมร่วมกับการออกแบบวงจรการจ่ายสัญญาณอย่างถูกต้อง ในกรณีทั่วๆ ไป ผู้ออกแบบจะต้องทำการประนีประนอมระหว่างคุณภาพของสัญญาณที่ได้รับกับราคาของ ระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีสัญญาณรบกวนจากภายนอกได้มาก ผู้ออกแบบจะต้องพยายามออกแบบวงจรการจ่ายและกำหนดอุปกรณ์อย่างเหมาะสมเพื่อ ให้ได้คุณภาพของสัญญาณดีพอสมควร ในขณะเดียวกันราคาของระบบก็ไม่สูงมากนัก ในเงื่อนไขการรับที่สัญญาณมีระดับต่ำ และเสียงรบกวนมีมาก ราคาของระบบอาจจะสูงขึ้นเป็นหลายเท่าตัวของกรณีที่ไม่มีปัญหาอะไร ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ออกแบบที่ต้องหาจุที่เหมาะสมที่สุดระหว่าง คุณภาพของสัญญาณกับราคาของระบบดังกล่าวข้างต้น
การสำรวจข้อมูลขั้น พื้นฐาน
การ สำรวจข้อมูลขั้นพื้นฐานนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการออกแบบระบบที่โดยเฉพาะในกรณีที่ คาดว่าจะมีสัญญาณรบกวนเข้าสู่ระบบได้มาก ข้อมูลที่ต้องทำการสำรวจจะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของสัญญาณทั้ง 3 ประการดังกล่าวในหัวข้อก่อน กล่าวคือระดับสัญญาณของแต่ละช่อง แหล่งของสัญญาณรบกวน และสาเหตุที่ทำให้เกิดภาพซ้อน วิธีการที่ง่ายที่สุดคือ การสอบถามจากชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงกับอาคารที่จะทำการติดตั้ง MATV แต่ถ้าในบริเวณใกล้เคียงไม่มีบ้านเรือน หรือการสอบถามทำไม่ได้สะดวก ก็จำเป็นต้องทำการสำรวจเอาเอง ขั้นตอนในการสำรวจควรเป็นดังนี้ คือ
การ สำรวจข้อมูลขั้นพื้นฐานนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการออกแบบระบบที่โดยเฉพาะในกรณีที่ คาดว่าจะมีสัญญาณรบกวนเข้าสู่ระบบได้มาก ข้อมูลที่ต้องทำการสำรวจจะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของสัญญาณทั้ง 3 ประการดังกล่าวในหัวข้อก่อน กล่าวคือระดับสัญญาณของแต่ละช่อง แหล่งของสัญญาณรบกวน และสาเหตุที่ทำให้เกิดภาพซ้อน วิธีการที่ง่ายที่สุดคือ การสอบถามจากชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงกับอาคารที่จะทำการติดตั้ง MATV แต่ถ้าในบริเวณใกล้เคียงไม่มีบ้านเรือน หรือการสอบถามทำไม่ได้สะดวก ก็จำเป็นต้องทำการสำรวจเอาเอง ขั้นตอนในการสำรวจควรเป็นดังนี้ คือ
- ติด ตั้งสายอากาศชั่วคราวในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับการติดตั้งจริง เช่น บนชั้นสูงๆ ของอาคารที่กำลังก่อสร้าง แล้วใช้เครื่องรับทีวีรับภาพจากเสาอากาศ โดยให้ผ่านสายนำสัญญาณยาวกว่า 20 เมตรขึ้นไปถ้าภาพที่รับได้มีคุณภาพดีทุกช่องก็สามารถดำเนินการออกแบบต่อไป ได้ แต่ถ้าสัญญาณบางช่องหรือทุกช่องมีปัญหา เช่น ภาพเป็นหิมะ หรือมีภาพซ้อน เป็นต้น ก็ต้องดำเนินการขั้นต่อไป
- ในกรณีที่ภาพ เป็นหิมะ ซี่งหมายถึงระดับสัญญาณจริงต่ำ เมื่อเทียบกับสัญญาณรบกวนที่มีอยู่(s/nต่ำ) ให้ใช้สายอากาศที่รู้ค่าอัตราขยาย และเครื่องวัดระดับสัญญาณของทีวี (TV signal level meter)
อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ MATV
Modulator :
TMS-VHF Modulator Single Side band VHF
- ใช้เปลี่ยนสัญญาณ AV สัญญาณ RF ย่าน VL,VH และ S-BAND ทุกช่องกำหนดช่องได้
- สัญญาณภาพและเสียงมีความคมชัด
- สัญญาณส่งช่องติดกันได้
- สัญญาณเอาท์พุท 100/110 dBuV
- ปรับระดับความแรงของสัญญาณได้ 20 dB
- สามารถติดกับแร็ค 19 นิ้วได้
TMS-VHF Modulator Single Side band UHF
- ใช้เปลี่ยนสัญญาณ AV สัญญาณ RF ย่าน UHF กำหนดช่องได้
- สัญญาณภาพและเสียงมีความคมชัด
- สัญญาณส่งช่องติดกันได้
- สัญญาณเอาท์พุท 100/110 dBuV
- ปรับระดับความแรงของสัญญาณได้ 20 dB
- สามารถติดกับแร็ค 19 นิ้วได้
Combiner :
AC-20
- ใช้รวมสัญญาณ 20 ช่อง
- อัตราขยาย 15 dB +/-2 dB
- ภาคขยาย Wideband Hybrid IC Module
- สัญญาณเอาท์พุท 105 dBuV
- ปรับความแรงสัญญาณได้ 20 dB
- สามารถติดกับแร็ค 19 นิ้วได้
PC-20
- ใช้รวมสัญญาณ 20 ช่อง
- Insertion Loss 14 & 17.5 dB
- ปรับความแรงสัญญาณได้ 20 dB
- สามารถติดกับแร็ค 19 นิ้วได้
PC-16
- ใช้รวมสัญญาณ16 ช่อง
- Insertion Loss 14
- มีชุดรวมสัญญาณจากคอมไบเนอร์ตัวอื่นๆ
- สามารถติดกับแร็ค 19 นิ้วได้
PC-8
- ใช้รวมสัญญาณ16 ช่อง
- Insertion Loss 11.5
Booster :
DA115
- ใช้ขยายสัญญาณ RF เพื่อกระจายสัญญาณในระบบ MATV,SMATV
- 1 Input มี Test Point ครอบคลุมตลอดย่านความถี่ 40-860 MHz
- ปรับเกน และสโลป เร่งลดได้ 20 dB
- อัตราขยาย 40 dB +/-2 dB Output 115 dBuV
- ตัวถังทำจากอลูมิเนียมเพื่อการระบายความร้อนที่ดีขึ้น
- ใช้ขยายสัญญาณ 10-100 จุด
Splitter
- Mini Outdoor Splitter and Tap-off
- มีไฟผ่านระหว่าง Input และ Output
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น